วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

หุ่นกระบอก

หุ่นกระบอก

           ประวัติความเป็นมา
          จากลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือ สาส์นสมเด็จ ทำให้ทราบว่า หุ่นกระบอกเริ่มขึ้นครั้งแรกราว พ.ศ. ๒๔๓๕ ที่เมืองสุโขทัย โดยนายเหน่ง สุโขทัย ซึ่งเป็นต้นคิด จำแบบอย่างมาจากหุ่นไหหลำ นำมาดัดแปลงเป็นหุ่นแต่งอย่างไทย และนายเหน่ง ได้ใช้เล่นหากินอยู่ที่เมืองสุโขทัย จนมีชื่อเสียง ส่วนที่กรุงเทพฯ ได้เกิดคณะหุ่นกระบอกของ ม.ร.ว. เถาะ พยัคฑเสนา มหาดเล็กในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ความคิดริเริ่มก่อตั้งคณะหุ่นของหม่อมราชวงศ์เถาะ ก่อให้เกิดยุคทองของการเล่นหุ่นชนิดนี้ขึ้นในสมัยเดียวกัน และต่อมาภายหลัง
            ลักษณะของหุ่น
            ศีรษะ โบราณจะแกะด้วยไม้เนื้อเบาทั้ง แท่ง เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าหุ่นใหญ่ แล้วปั้นเติมส่วนรายละเอียดต่างๆ ด้วยรัก หรือดิน หรือขี้ผึ้งผสมชัน บางคณะเป็นกระดาษที่ติดบนพิมพ์แล้วผ่าออกแบบการทำหัวโขน แต่ตรงคอหุ่นทุกหัว จะต้องมีแกนไม้กลมยาวลงมาประมาณ 3 นิ้ว สำหรับเสียบกับบ่าหุ่น
            เครื่องประดับศีรษะ
๑.ชฎา
๒.รัดเกล้า
๓.มงกุฎกษัติย์
๔.กะบังหน้า
๕.ปันจุเหร็จ 
๖.หัวม้า,หัวช้าง ฯลฯ
ลักษณะตัวหุ่น
คือไม้กระบอกมีไหล่ทำด้วยไม้เจาะรูสำหรับเสียบหัว เสื้อหุ่นเป็นฟ้าฟืนเดียวกันพับครึ่งเย็บเป็นถุงคลุมไหล่หุ่น มีรูตรงคอสำหรับเสียบหัว และตรงมุมผ้าทั้งสองข้างสำหรับมือหุ่นโผล่ มือหุ่นทั้งสองข้างมีไม้ไผ่เหลาเล็กเสียบต่อจากมือลงมาสำหรับจับเชิด ยาวระดับเดียวกับปลายด้านล่าง ไม้ไผ่นี้เรียกกันว่า "ตะเกียบ" 

             วัสดุในการทำหุ่น
๑.หินสบู่แกะลายกระจัง สำหรับปั๊มลาย 
๒.ทองคำเปลว 
๓.ผ้าไหม หรือผ้าลายดอก 
๔.ผม
๕.ดิ้น, เลื่อม, โปร่งเงิน, โปร่งทอง, มันเงิน, มันทอง, ลูกปัดสีต่างๆ, ไหม, เชือกเงิน, เชือกทอง (มีทั้งของเทียมและของแท้) 
๖.สีสำหรับเขียนหน้า 
๗.ฐานหุ่น, คอหุ่น, บ่าหุ่น 
๘.ผ้าทำดอกไม้ 
๙.ผ้าทำพัด, ไม้สำหรับเหลาก้านพัด (แผ่นทองเหลืองหรือทองแดงก็ได้) 
๑๐.ปูนพลาสเตอร์, ดินน้ำมัน, ซิลิโคน, โพลิเอสเตอร์ ฯลฯ 

              การเชิดหุ่น
            การเชิดหุ่นกระบอกยึดถือวิธีเชิดโดยดัดแปลงมาจากการแสดงละครรำ แบบละครนอก กล่าวคือผู้เชิดจะเชิดหุ่นมีท่าทางการร่ายรำแบบละครรำ แต่แสดงให้ผู้ชมเห็นเพียงครึ่งตัวเท่านั้น ส่วนล่างของตัวหุ่นนั้น ใช้ฉากบังไว้ไม่ให้ผู้ชมเห็นเพราะเป็นแกนกระบอกไม้ไผ่ที่ต้องใช้มือถือสำหรับเชิด ฉะนั้นผู้ชมจะเห็นท่ารำของหุ่นเพียงแค่ส่วนมือ และลำตัวของหุ่นเท่านั้น อนึ่ง ผู้เชิดจะเป็นผู้เจรจาและในบางครั้งก็ขับร้องแทนตัวหุ่นที่ตนกำลังเชิดอยู่นั้นด้วย บทที่ผู้เชิดมักจะต้องขับร้องเอง เมื่อเชิดหุ่นตัวใดมีบทบาทอย่างไรผู้เชิดก็จะขับร้องและเจรจาตามบทบาทของหุ่นตัวนั้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น